วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กฎหมายน่ารู้ ตอน เมียปลอมกับพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตายใครจะเป็นผู้ได้รับมรดก


มาอีกแล้วครับกับกฎหมายสมรสแบบเทียมๆหลอก ซึ่งทนายแค้ง เขียนไว่น่าอ่านและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะความลึกลับซับซ้อนในปัจจุบัน

ถึงแม้การสมรส จะเป็นการสมรสหลอกๆอันเป็นโมฆะ แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าเป็นโมฆะ การสมรสนั้นย่อมยังสมบูรณ์ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม สามารถรับมรดกของคู่สมรสได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๙ (วรรคสอง) และมาตรา ๑๖๓๕

มาตรา ๑๖๒๙ บัญญัติไว้ว่าทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้นฯ

(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (วรรคสอง) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา ๑๖๓๕

มาตรา ๑๖๓๕ ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้

(๒) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๓) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) แต่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๒) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง(๓) ฯ

พอมาถึงบรรทัดนี้ ก็เริ่มเห็นเค้าลางทันทีว่า ทั้งเมียปลอมๆทั้งพี่น้องร่วมบิดามารดา เห็นท่าจะได้ฝ่ายละครึ่ง จริงเท็จว่าไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๙๘/๒๕๔๘

(๑) “ผู้คัดค้าน” ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดหรือบิดามารดาเดียวกันกับ “ผู้ตาย” ยื่นคำร้องคัดค้าน “ผู้ร้อง”

(๒) ว่า “ผู้ร้อง” กับ “ผู้ตาย” จดทะเบียนสมรสกันหลอกๆ เพียงเพื่อ “ผู้ร้อง” จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นการแสดงเจตนาลวง การจดทะเบียนสมรสจึงตกเป็นโมฆะ

(๓) เมื่อ “ผู้ร้อง” มิได้เป็นคู่สมรสของ “ผู้ตาย” เนื่องจากการสมรสของ “ผู้ร้อง” กับ “ผู้ตาย” เป็นโมฆะ “ผู้ร้อง” จึงไม่เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ “ผู้ตาย” ไม่มีสิทธิร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ “ผู้ตาย” ตามมาตรา 1713 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๔) ขอให้ศาลยกคำร้องที่ “ผู้ร้อง” ขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และตั้ง “ผู้คัดค้าน” เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย


ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

(๑)ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย


(๒)แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม


(๓)*แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้น* ที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496


(๔)เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่

(๕) ผู้ร้องขอยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสองและมีสิทธิในร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับผู้คัดค้าน


(๖)มีบุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 นั้น ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส หรืออัยการ

(๗)เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้


(๘) ในการที่ศาลจะตั้งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้นย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกนั้น


(๙) การจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ฝ่ายเดียวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกของผู้ตายและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่หากได้จัดการร่วมกันแล้วน่าจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกของผู้ตายและทายาททุกคนมากกว่า


(๑๐)จึงสมควรให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย(แปลว่าต้องแบ่งมรดกกันฝ่ายละครึ่งตามกฎหมาย)


ถ้าเขาแต่งงานกันปลอมๆอย่างที่ผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านคงเสียดายและเสียใจ ที่อยู่ๆเมียปลอมๆก็มาแบ่งเอามรดกของพี่น้องร่วมบิดามารดาไปเสียจากตน

สรุปได้ว่าคดีนี้คู่สมรสก็ตายไปแล้ว บิดามารดาก็ไม่ปรากฏเข้ามาในคดี ผู้สืบสันดานของคู่สมรสก็ไม่เห็น จะให้อัยการร้องก็ไม่มีเหตุ


แหล่งที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา
กฎหมายใช่ว่ายาก/ทนายแค้ง-พิมพ์พล แสงเมือง
จาก
 
http://www.tnews.co.th/html/content/98036

กฎหมายน่ารู้ ตอน กฎหมายแรงงาน


กฎหมายน่ารู้ โดยทนายจรัสวันนี้จะนำเสนอเรื่องกฎหมายแรงงาน  สิทธิของแรงงานและความคุ้มครองแรงงานตามฎหมายคุ้มครองแรงงาน

นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาทําสัญญาจ้างแรงงานกันโดยทําเป็นหนังสือหรือโดยปากเปล่าก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งถ้ามีการแสดงเจตนาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวย่อมทําให้ตกเป็นโมฆะได้ ดาวน์โหลดเอกสาร

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทนายความลำปาง ยินดีต้อนรับ

ทนายความลำปาง ยินดีช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายให้บริการคำปรึกษาแก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย หนึ่งเดียวในเมืองลำปาง น้อมรับใช้พี่นองด้วยความยินดีครับ

รับปรึกษาปัญหากฏหมายทุกคดีความ



  • บริการคำปรึกษาและรับว่าความทั้งคดีแพ่งและอาญา(ทั่วราชอาณาจักร) บริการคำปรึกษาและรับว่าความเกี่ยวกับ คดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ การซื้อขาย รอนสิทธิ ชำรุดบกพร่อง ฯลฯ
  • บริการคำปรึกษาและรับว่าความเกี่ยวกับ คดีเช่าซื้อ กรณีข้อพิพาทที่เกี่ยวกับไฟแนนซ์ฟ้องร้อง ในกรณีการเช่าซื้อรถยนต์ บริการคำปรึกษาและรับว่าความเกี่ยวกับ คดีที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น คดีมรดก ฟ้องหย่า สิทธิการเลี้ยงดู รับรองบุตร การตรวจสอบทรัพย์
  • บริการคำปรึกษาและรับว่าความเกี่ยวกับ คดีแพ่งที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องเรื่องตั๋วเงิน ละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนบริษัท
  • บริการคำปรึกษาและรับว่าความเกี่ยวกับ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลพิเศษ เช่น คดีแรงงาน คดีเกี่ยวกับภาษีอากรคดีที่เกี่ยวกับลิขสิทธิหรือเครื่องหมายการค้าต่างๆ
  • บริการคำปรึกษาและรับว่าความเกี่ยวกับ คดีอาญาทุกประเภท รวมทั้งการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติที่ให้ถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา